${v.nameEn}

Loading...

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรนี้ กล่าวถึงหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ เพื่อใช้ในงานประมวลสมรรถนะสูงทั้งในแบบ High Performance Computing และ High Throughput Computing โดยการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจทฤษฎีที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ และปฏิบัติการติดตั้ง ปรับแต่งระบบ ทั้งแบบ beowulf cluster ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ต้องฮาร์ดดิสก์ (Diskless) และแบบติดตั้งในฮาร์ดดิสก์ รวมถึงการใช้งานเครื่องมือที่สำคัญอย่างเช่น ระบบจัดลำดับงาน (Job scheduler) ด้วย Slurm หรือ OpenPBS ระบบมอร์นิเตอริ่ง เป็นต้น รวมถึงการใช้งานระบบ เช่น การคอมไพล์และรันโปรแกรม MPI การสร้างและใช้งาน Load Module เป็นต้น

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ดูแลระบบลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์ที่จะก้าวมาเป็นผู้ดูแลระบบลีนุกซ์คลัสเตอร์ นักวิจัย รวมถึงผู้ที่สนใจสร้างระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ขึ้นใช้งาน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ได้
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการทำงานของซอฟต์แวร์จัดลำดับงาน และบริหารจัดการตัวจัดลำดับงานเบื้องต้นได้
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการทำงานโปรแกรมแบบขนาน และนำไปทดสอบบนระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ได้

ความรู้พื้นฐาน

ผู้เข้าอบรมต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร Linux Administration หรือเป็นผู้ดูแลระบบที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลระบบ Linux Server

ซอฟต์แวร์ที่ใช้

  1. ระบบปฏิบัติการ Rocky 8
  2. ซอฟต์แวร์ OpenHPC – https://openhpc.community/
  3. ซอฟต์แวร์ Slurm / OpenPBS
  4. ซอฟต์แวร์ Monitoring

สิ่งที่ผู้เข้าอบรมต้องเตรียม

ผู้เข้าอบรมต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำไม่น้อยกว่า 8 GB และมีพื้นที่ว่าง (Disk space) ไม่น้อยกว่า 50GB มาในการอบรม พร้อมติดตั้ง VirtualBox และ VirtualBox Extension Pack และเปิดฟังก์ชั่น Virtualization ใน BIOS มาให้เรียบร้อยตามคู่มือ

เนื้อหาหลักสูตร

วันที่ 1

เช้า

  • รู้จักระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
    • ความเป็นมาและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
    • ประเภทของระบบ และการประมวลคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
  • การออกแบบระบบคลัสเตอร์
    • องค์ประกอบของระบบฮาร์ดแวร์
    • สถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
  • การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ (Hardware)
  • แนะนำซอฟต์แวร์ OpenHPC
  • Workshop 1 การติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
    • การติดตั้งและปรับแต่งเครื่อง Front-end (master node) และเทคนิคการปรับแต่งค่าต่าง ๆ เช่น ติดตั้ง Package เพิ่มเติม การแบ่งขนาดพาร์ทิชั่นของเครื่อง เป็นต้น
    • การรันเครื่อง Compute Node แบบไม่ต้องติดตั้งในฮาร์ดดิสก์

บ่าย

  • การใช้งานระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
    • คำสั่งพื้นฐานและคำสั่งแบบขนาน
    • หลักการทำงานของระบบ Monitoring
    • Workshop 2 การใช้งานระบบ Monitoring
  • Workshop 3 : การ Login ระยะไกล และใช้งานคำสั่งพื้นฐาน
  • การบริหารจัดการระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
    • การจัดการบัญชีผู้ใช้
    • การทำ Single Sign-on ด้วย Public key (ล็อกอินครั้งเดียวเข้าได้ทั้งระบบ)
    • เทคนิคการจัดการกับสิทธิ root ด้วยคำสั่ง sudo
  • Workshop 4: การเพิ่มบัญชีผู้ใช้ระบบ

วันที่ 2

เช้า

  • การติดตั้งคอมพิวโหนดแบบ Stateful (ติดตั้งระบบปฎิบัติการลงในฮาร์ดดิสก์)
  • การจัดการซอฟต์แวร์บนระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
    • การติดตั้ง Application software บนระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
    • รูปแบบการติดตั้งซอฟต์แวร์ ตำแหน่งและความเหมาะสม
    • การกำหนด Environment Script
  • Workshop 5: การติดตั้ง Application Software
  • โปรแกรมแบบขนาน
    • อธิบายการทำงานของโปรแกรมแบบขนาน
    • MPI ชนิดต่าง ๆ ที่มากับซอฟต์แวร์ OpenHPC
  • การพัฒนาโปรแกรมแบบขนานเบื้องต้นด้วย MPICH
    • ตำแหน่งและคอนฟิกกูเรชั่นที่เกี่ยวข้องกับ MPICH
  • Workshop 6: การ Compile และ Run โปรแกรมแบบขนาน
  • การคอมไพล์และติดตั้งคอมไพเลอร์แบบขนาน
  • การจัดการและใช้งาน Module - Software Environment Management

บ่าย

  • การบริหารจัดการตัวจัดลำดับงาน (Job Scheduler)
    • แนะนำการทำงานของตัวจัดลำดับงาน Slurm หรือ OpenPBS แล้วแต่เลือก
    • การใช้งานตัวจัดลำดับงานด้วยแบบคอมมานด์ไลน์ (CLI)
  • การปรับแต่งและจัดการตัวจัดลำดับงาน
  • Workshop 7: การใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านซอฟต์แวร์จัดลำดับงาน
    • การ Run โปรแกรมแบบ sequential และขนานผ่านทางตัวจัดลำดับงาน
  • แนะนำเรื่องการวัดประสิทธิภาพเครื่องเบื้องต้น
    • FLOPs, Rmax และRpeak
  • พื้นฐานการออกแบบห้องคอมพิวเตอร์สำหรับระบบคลัสเตอร์ (Data Center)
  • ตัวอย่างการออกแบบระบบขนาดใหญ่

วิธีการชำระเงิน

  1. ชำระเป็นเงินสดหรือเช็ค (งดรับเช็คส่วนตัว) สั่งจ่ายในนาม บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด นำมาชำระที่ บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด
  2. โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์
    1. ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางขุนนนท์ ชื่อบัญชี บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด เลขที่บัญชี 753-2-25601-6
    2. ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางขุนนนท์ ชื่อบัญชี บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด เลขที่บัญชี 190-0-78709-2
    3. * กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินมาทาง Email: accounting@clusterkit.co.th หรือแฟกซ์หลักฐานการโอนเงินมาที่ 0 2424 7603

หมายเหตุ

  • ราคาข้างต้นรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
  • บริษัท หรือนิติบุคคลสามารถหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 3%, หน่วยงานราชการ 1% ของราคาค่าอบรมก่อนหักภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องนำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาในวันอบรม

    บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด
    เลขที่ 91 ซอยริมคลองชักพระ
    ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์
    เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
    เลขทะเบียนนิติบุคคล: 0105550004011

    (กรณีไม่มีหนังสือรับรองต้องชำระเต็มจำนวน)
  • การสำรองที่นั่งอบรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการชำระเงิน จึงขอสงวนสิทธิ์แก่ผู้ที่สำรองที่นั่งอบรมเข้ามาก่อนตามลำดับ
  • รายละเอียดต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

หากคุณมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อเรา

ติดต่อเรา