${v.nameEn}

Loading...

รายละเอียดของหลักสูตร

หลักสูตรนี้ กล่าวถึงหลักการทำงานของระบบเว็บคลัสเตอร์ ที่ใช้ในงานให้บริการเว็บไซต์สำหรับเว็บขนาดใหญ่เพื่อรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก เป็นหลักสูตรที่เน้นการปฎิบัติใช้งานจริง โดยเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การติดตั้ง การสร้างระบบคงอยู่สูง (High Availability - HA) ทฤษฎีกระจายภาระงาน (Load balancing) ด้วย Linux Virtual Server (LVS) และ HAProxy การใช้ memcache ในการจัดการ session ข้ามเครื่อง การติดตั้งระบบไฟล์แบบกระจาย GlustreFS เพื่อให้ปรับปรุงไฟล์ทีเดียวแล้วกระจายสำเนาไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ทุกเครื่อง การปรับแต่งความปลอดภัยของระบบ และมีการปรับพื้นฐานทฤษฎีระบบเครือข่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเว็บคลัสเตอร์ เช่น Mac Address, ARP Protocol, Public และ Private Network เป็นต้น

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ดูแลระบบเว็บ องค์กรที่ให้บริการเว็บ และผู้ที่สนใจ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในหลักการออกแบบเว็บคลัสเตอร์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงความแตกต่างของวิธีการกระจายภาระงานในแบบต่าง ๆ
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง

ความรู้พื้นฐาน

ผู้เข้าอบรมต้องมีความรู้ความสามารถในการติดตั้ง Linux Server หรือผ่านหลักสูตร Linux Administration มาก่อน และควรมีความเข้าใจเรื่องระบบเครือข่ายพื้นฐาน

รูปแบบการสอน

บรรยายและปฏิบัติการ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบเสมือน (Virtual Machine) เพื่อต่อเป็นระบบคลัสเตอร์

ซอฟต์แวร์ที่ใช้สอน

  1. ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ CentOS-7

เนื้อหาหลักสูตร

วันที่ 1

เช้า

  • รู้จักกับระบบเว็บคลัสเตอร์
    • เว็บคลัสเตอร์คืออะไร
    • รูปแบบการกระจายภาระงานของเว็บ (Web Load Balancing)
      • DNS Round Robin
      • Scale out
      • Hardware Load Balancing
      • Software Load Balancing
    • สถาปัตยกรรมและหลักการออกแบบเว็บคลัสเตอร์
  • ขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux
    • Workshop 1: ประกอบคลัสเตอร์และติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux
  • การตั้งค่า SSH ให้ทำงานแบบ Single Sign On with Public key Infrastructure (PKI)
    • Workshop 2: ปรับแต่งการเชื่อมต่อภายในระบบคลัสเตอร์และทบทวนคำสั่งที่เกี่ยวข้อง

บ่าย

  • ทบทวนความรู้ทฤษฎีระบบเครือข่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบเว็บคลัสเตอร์
    • MAC Address
    • ARP Protocol
    • Public และ Private Network
  • ทบทวนเรื่อง Web Server
    • การทำงานของ Web Server
    • Configuration ที่สำคัญของ Web Server
  • การกระจายภาระงานด้วย Linux Virtual Server (LVS)
    • รู้จักกับ Linux Virtual Server
  • รู้จักกับ LVS Scheduling Algorithm ประเภทต่าง ๆ
  • ทฤษฎีการกระจายภาระงาน (Load Balancing) เบื้องต้น
  • การปรับแต่งเว็บคลัสเตอร์แบบ NAT
  • การปรับแต่งเว็บคลัสเตอร์แบบ Direct Route
    • หลักการของ Virtual IP
    • MAC Spoofing
    • การติดตั้งและใช้งาน arptable_jf เพื่อจัดการกับปัญหา MAC Address ในการทำงานของระบบเว็บคลัสเตอร์
  • Piranha configuration tool
    • Workshop 3: สร้างเว็บคลัสเตอร์แบบ NAT ด้วย Piranha GUI พร้อมทดสอบวิธีการกระจายแบบต่าง ๆ
    • Workshop 4: สร้างเว็บคลัสเตอร์แบบ Direct Route ด้วย Piranha GUI พร้อมทดสอบวิธีการกระจายแบบต่าง ๆ

วันที่ 2

เช้า

  • การกระจายภาระงานด้วยซอฟต์แวร์ HAProxy
    • Workshop 5: การติดตั้งใช้งาน HAProxy
    • เปรียบเทียบการทำงานระหว่า HAProxy และ LVS
  • การทำระบบภาวะทนต่อความผิดพร่องสูง
    • หลักการทำงานแบบ High Availability (HA) ของ Load Balancer
    • การสร้างระบบ High Availability สำหรับระบบ Web Cluster
    • Workshop 6: สร้างระบบ High Availability สำหรับระบบเว็บคลัสเตอร์ พร้อมทดสอบการทำงาน

บ่าย

  • วิธีการจัดการไฟล์เว็บในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการ Update ข้อมูลที่เดียว
    • ความแตกต่างระหว่าง Share Disk และ Share Storage
    • Network File System (NFS), ISCSI, GlusterFS (60 min)
    • ISCSI รูปแบบใช้ เพื่อให้ทุกเครื่องเห็นที่เดียวกัน
    • Workshop 7: การสร้าง Share Directory บน NFS และการทำ Auto mount
  • รู้จักกับ GlusterFS
    • การทำงานของ GlusterFS ในรูปแบบต่าง ๆ
    • องค์ประกอบของเครื่องในระบบ
    • Workshop 8: การติดตั้งและใช้งาน GlusterFS แบบ Replication (3 เครื่อง)การรักษาความปลอดภัยของระบบ (100 min)

วันที่ 3

เช้า

  • รู้จักกับ Memcache
    • Workshop 9: การใช้งาน Memcache ในการจัดการ session ภายในคลัสเตอร์
  • แนะนำ Ganglia ระบบ Web Monitoring tools
    • Workshop 10: ติดตั้งระบบ Web Monitoring
  • การปรับแต่งประสิทธิภาพ
    • การทดลองยิงโหลดด้วย awk
    • วางแผนการรับโหลด

บ่าย

  • การปรับแต่งประสิทธิภาพ(ต่อ)
    • การปรับแต่ระบบปฏิบัติการเพื่อรองรับภาระงานที่เพิ่มขึ้น
  • การใช้งาน MySQLTuner เพื่อปรับแต่งประสิทธิภาพให้ MySQL
    • แนะนำระบบฐานข้อมูลแบบกระจายในแบบต่าง ๆ เช่น MarieDB Galera Cluster, MySQL Cluster

วิธีการชำระเงิน

  1. ชำระเป็นเงินสดหรือเช็ค (งดรับเช็คส่วนตัว) สั่งจ่ายในนาม บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด นำมาชำระที่ บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด
  2. โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์
    1. ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางขุนนนท์ ชื่อบัญชี บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด เลขที่บัญชี 753-2-25601-6
    2. ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางขุนนนท์ ชื่อบัญชี บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด เลขที่บัญชี 190-0-78709-2
    3. * กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินมาทาง Email: accounting@clusterkit.co.th หรือแฟกซ์หลักฐานการโอนเงินมาที่ 0 2424 7603

หมายเหตุ

  • ราคาข้างต้นรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
  • บริษัท หรือนิติบุคคลสามารถหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 3%, หน่วยงานราชการ 1% ของราคาค่าอบรมก่อนหักภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องนำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาในวันอบรม

    บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด
    เลขที่ 91 ซอยริมคลองชักพระ
    ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์
    เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
    เลขทะเบียนนิติบุคคล: 0105550004011

    (กรณีไม่มีหนังสือรับรองต้องชำระเต็มจำนวน)
  • การสำรองที่นั่งอบรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการชำระเงิน จึงขอสงวนสิทธิ์แก่ผู้ที่สำรองที่นั่งอบรมเข้ามาก่อนตามลำดับ
  • รายละเอียดต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

หากคุณมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อเรา

ติดต่อเรา